ข้อมูลบทความ
ปี 2019 ปีที่ 69 ฉบับที่ 2 หน้า 185-197
Title:
อัตราความสำเร็จของการบูรณะฟันด้วยซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินแบบดัดแปลงในฟันที่กำจัดเนื้อฟันผุบางส่วนที่ 6 เดือน
Keyword(s):
การกำจัดเนื้อฟันผุบางส่วน, ซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดั้งเดิม, ซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน, ฟันน้ำนม, ฟันผุ
Abstract:
วัสดุบูรณะที่มีคุณสมบัติดีและเหมาะสมอาจเพิ่มอัตราความสำเร็จของการบูรณะฟันที่กำจัดเนื้อฟันผุบางส่วน จึงนำไปสู่การ
ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จของการบูรณะฟันกรามน้ำนมที่กำจัดเนื้อฟันผุบางส่วนถึงรอยต่อระหว่างเคลือบฟันและเนื้อฟัน
ของกลุ่มควบคุมด้วยซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดั้งเดิมแบบแคปซูล (Encapsulated conventional glass-ionomer cement, Fuji
IX GP® Extra Capsule) และกลุ่มทดลองซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินแบบดัดแปลงซึ่งสามารถบูรณะโพรงฟันลึกได้
ในครั้งเดียว (Bulk fill altered resin modified glass-ionomer cement, ActivaTM BioACTIVE-RESTORATIVETM) แล้วติดตามผลที่
6 เดือน วิธีวิจัยประกอบด้วย 1. คัดผู้เข้าร่วมการศึกษาอายุ 5 – 9 ปี 216 คนซึ่งมีฟันกรามน้ำนมผุด้านบดเคี้ยว (ICDAS 5) แล้วสุ่มเข้า
กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 2. กำจัดเนื้อฟันผุบางส่วนด้วยช้อนขูดโพรงผุโดยกำจัดเนื้อฟันผุชนิดนิ่มจากขอบโพรงจนเลยรอยต่อระหว่าง
เคลือบฟันและเนื้อฟัน (dentin-enamel junction, DEJ) 0.5 มิลลิเมตร แล้วบูรณะตามกลุ่มศึกษา 3. ติดตามผลที่ 6 เดือนด้วยการตรวจ
ทางคลินิก ได้แก่ การประเมินวัสดุบูรณะตามเกณฑ์ที่ดัดแปลงจากเกณฑ์ ART ของ Phantumvanit และคณะ (modified ART restoration
criteria) การเกิดฟันผุซ้ำ อาการและอาการแสดงทางคลินิก รวมถึงการตรวจทางภาพรังสี การศึกษานี้ใช้สถิติการทดสอบไคสแคว
ร์เปรียบเทียบอัตราความสำเร็จของการบูรณะ และใช้การวิเคราะห์ทั้งแบบที่ผู้เข้าร่วมการศึกษามาติดตามการประเมินจริง
(perprotocol analysis, PP) และแบบที่ใช้ข้อมูลตามการแบ่งกลุ่มดั้งเดิม (intention–to–treat, ITT) ผลการวิจัยพบว่า อัตราความ
สำเร็จของการบูรณะฟันตามเกณฑ์การประเมินวัสดุบูรณะระดับยอมรับได้ (รหัส 0 และ 1) ของกลุ่มควบคุมและทดลองเท่ากับร้อยละ
95.5 และ 87.6 ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนอัตราความสำเร็จของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่เมื่อ
พิจารณาอัตราความสำเร็จของวัสดุบูรณะตามเกณฑ์การประเมินวัสดุบูรณะระดับดี (รหัส 0) พบว่า อัตราความสำเร็จของกลุ่มควบคุม
(ร้อยละ 92.0) สูงกว่ากลุ่มทดลอง (ร้อยละ 77.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยความล้มเหลวหลักของการบูรณะคือ ความ
บกพร่องของขอบวัสดุบูรณะ สรุปได้ว่าอัตราความสำเร็จของซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดั้งเดิมแบบแคปซูลสูงกว่าซีเมนต์กลาสไอโอ
โนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินแบบดัดแปลงซึ่งสามารถบูรณะโพรงฟันลึกได้ในครั้งเดียวเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์การประเมินวัสดุบูรณะ
ระดับดีที่ 6 เดือน