ข้อมูลบทความ
ปี 2010 ปีที่ 60 ฉบับที่ 1 หน้า 11-21
Title:
ประวัติทางการแพทย์ในผู้ป่วยทางทันตกรรมไทยกลุ่มหนึ่ง : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2546 ถึง พ.ศ. 2551
Keyword(s):
dental patient, drug allergy, medication, smoking, systemic disease
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประวัติสภาวะโรคทางระบบ ข้อมูลการ รับประทานยาชนิตต่าง ๆ การแพ้ยา และสภาวะการสูบบุหรี่ ในผู้ป่วยทางทันตกรรมกลุ่มหนึ่ง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิตล ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2546 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 เก็บข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย โดยวิธีการสุ่มอย่างมีระบบ จากนั้นบันทึกข้อมูลอายุ เพศ ประวัติทางการแพทย์ และประวัติการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยแต่ละ ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทางทันตกรรม 1,787 ราย เป็นเพศชาย 581 ราย (ร้อยละ 32.5) เพศหญิง 1,206 ราย ร้อยละ 67.5) อายุระหว่าง 9-80 ปี อายุเฉลี่ย 33.6±10.1 ปี ผู้ป่วยทาง ทันตกรรม 398 ราย (ร้อยละ 22.3) มีโรคทางระบบ เป็นเพศชาย 110 ราย (ร้อยละ 6.2) เพศ หญิง 288 ราย (ร้อยละ 16.1) โรคทางระบบที่พบมาก 3 อันดับแรกของผู้ป่วยที่ให้ประวัติทั้งหมด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด (ร้อยละ 8.9) โรคระบบทางเดินอาหารและตับ (ร้อยละ 6.4) และ โรคระบบต่อมไร้ท่อ (ร้อยละ 3.9) ตามลำดับ พบโรคทางระบบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ผลสำรวจข้อมูลการใช้ยาพบว่ามีผู้ป่วยทางทันตกรรมใช้ยา 484 ราย (ร้อยละ 27.1) ยาที่ใช้ มากเป็น 3 อันดับแรก ได้แก่ ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 5.8) ยาแก้ปวด แก้อักเสบ ยาปฏิชีวนะ (ร้อยละ 5.3) ยาในกลุ่มอาหารเสริม ยาบำรุง วิตามิน แร่ธาตุ (ร้อยละ 4.5) นอกจาก นี้พบผู้ที่ให้ประวัติแพ้ยา 173 ราย (ร้อยละ 9.7) โดยพบการแพ้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนนิซิลิน มากเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 3.3) กลุ่มยาแก้ปวด แก้อักเสบ (ร้อยละ 2.2) และกลุ่มยา ซัลโฟนาไมด์ (ร้อยละ 1.4) รองลงมาตามลำดับ จากการสำรวจข้อมูลการสูบบุหรี่ มีผู้สูบบุหรี่ 178 ราย (ร้อยละ 9.9) เป็นเพศชาย 138 ราย (ร้อยละ 7.7) เพศหญิง 40 ราย (ร้อยละ 2.2) ผู้ป่วยเพศชายมีการสูบบุหรี่สูงกว่าผู้ป่วยเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = . ooo) โดยสรุป จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยทางทันตกรรมจำนวน 1 ใน 10 ให้ประวัติเป็นโรคทางระบบ และรับประทานยา และผู้ป่วยทางทันตกรรมจำนวน 1 ใน 10 ให้ประวัติแพ้ยาและสูบบุหรี่ จากการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า การซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวางแผนและการรักษา ทางทันตกรรมที่เหมาะสม