ข้อมูลบทความ
ปี 2010 ปีที่ 60 ฉบับที่ 1 หน้า 66-73
Title:
การพัฒนาชิ้นขี้ผึ้งเพื่อประเมินความสามารถในการบดเคี้ยว: การศึกษาเบื้องต้นและการประยุกต์ทางคลินิก
Keyword(s):
chewing ability, color histogram, wax cubes
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชิ้นขี้ผึ้งเพื่อใช้ในการประเมินความสามารถใน การบดเคี้ยวให้มีสมบัติทางกายภาพตามที่กำหนด โดยกระบวนการผลิตและการแปลผล สามารถทำได้เองในระยะเวลาสั้น จากนั้นใช้ชิ้นขี้ผึ้งที่พัฒนาขึ้นมาประเมินความสามารถใน การบดเคี้ยวในผู้เข้าร่วมวิจัยต่างกลุ่มอายุ ดำเนินการโดยนำขี้ผึ้ง 4 ชนิด มาผสมกันจนได้ขี้ ผึ้งที่มีสมบัติทางกายภาพตามต้องการ เพื่อทำชิ้นขี้ผึ้งขนาด 10 มม. x 10 มม. x 10 มม. แบ่ง ผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีการสบฟันปกติ จำนวน 45 คน (ชาย 21 คน หญิง 24 คน) ออกเป็น 3 กลุ่ม (กลุ่มที่ l อายุ 20-29 ปี กลุ่มที่ 2 อายุ 30-39 ปี กลุ่มที่ 3 อายุ 40-49 ปี) นำชิ้นขี้ผึ้งไปทำให้ ปราศจากเชื้อ เก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิ (37 องศาเซลเซียส) 24 ชม. จากนั้นนำมาแช่ใน เครื่องควบคุมอุณหภูมิน้ำ 10 นาที ก่อนเริ่มเคี้ยว ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยเคี้ยวขี้ผึ้งคนละ 4 ก้อน ครั้งละก้อน ก้อนละ 10 ครั้ง ในตำแหน่งที่ถนัด นำชิ้นขี้ผึ้งที่ผ่านการเคี้ยวแล้วไปถ่ายภาพ และประเมินความสามารถในการบดเคี้ยวด้วยโปรแกรมอิมเมจ เจ โดยคำนวณร้อยละของสี ที่ผสมกันได้ดี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ (ค่าเฉลี่ย±ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน) ของความสามารถในการบดเคี้ยวใน กลุ่มที่ 1 2 และ 3 เท่ากับ 25.3±4.4 , 23.6± 5.7 และ 16.5±5.5 ตามลำดับ จากสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่ามี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ระหว่างกลุ่มที่ 1 กับ กลุ่มที่ 3 และ กลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 3 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ระหว่าง เพศในแต่ละกลุ่มอายุ เมื่อวิเคราะห์โดยสถิติการทดสอบที โดยสรุป ชิ้นขี้ผึ้งที่พัฒนาขึ้น สามารถแยกความแตกต่างของความสามารถในการบดเคี้ยวระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มได้ โดยใช้กระบวนการผลิตและการแปลผลที่ไม่ซับซ้อน และพบว่าความสามารถในการบดเคี้ยว มีแนวโน้มลดลงเมื่อกลุ่มตัวอย่างอายุเพิ่มขึ้น