ข้อมูลบทความ
ปี 2003 ปีที่ 53 ฉบับที่ 1 หน้า 51-57
Title:
ผลทางคลินิกของการใช้สารบอนดิงร่วมกับการเคลือบหลุมและร่องฟันในฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง ที่ขึ้นมาบางส่วนในระยะเวลา 3 เดือน
Author(s):
พรพรรณ ลีวัธนะ, คัดเค้า วงษ์สวรรค์, ประภาศรี พรทวีวัฒน์, เพ็ญพักตร์ อภินันท์ธนวัฒน์
Keyword(s):
bonding agent, partial eruption, permanent molars, sealant
Abstract:
การเคลือบหลุมและร่องฟันเป็นวิธีการหนึ่งในการลดการเกิดฟันผุที่ด้านบดเคี้ยวแต่ในฟันที่ยังขึ้นไม่เต็มซี่นั้นการเคลือบหลุมและร่องฟันมักจะพบปัญหาการปนเปื้อนน้ำลายและการจัดการกับเนื้อเยื่อรอบๆ ระหว่างที่ทำ ทำให้ประสิทธิผลค่อนข้างต่ำ การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการใช้สารบอนดิงเพื่อเปรียบเทียบการติดอยู่ของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันคอนไซส์ชนิดฉายแสง เมื่อใช้ร่วมกับสารบอนดิงซิงเกิลบอนด์ กับการใช้วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันเพียงอย่างเดียว บนฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ขึ้นมาเพียงบางส่วนที่ในระยะเวลา 3 เดือนจำนวน 36 ซี่ในเด็ก 21 คน การศึกษาแบ่งฟันโดยการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่่ใช้สารบอนดิงร่วมกับวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันกับกลุ่มซึ่งใช้วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันเพียงอย่างเดียว ผลการศึกษาพบว่า ที่ระยะเวลา 3 เดือน กลุ่มที่ใช้สารบอนดิงซิงเกิลบอนด์มีการติดอยู่อย่างสมบูรณ์ของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันร้อยละ 88.89 และหลุดไปบางส่วนร้อยละ 11.11 ส่วนกลุ่มที่ใช้วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันเพียงอย่างเดียวมีการติดอยู่อย่างสมบูรณ์ร้อยละ 77.78 และหลุดไปบางส่วนร้อยละ 22.22 ทั้งสองกลุ่มไม่พบการหลุดไปทั้งหมดของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟัน เมื่อวิเคราะห์ผลโดยใช้การทดสอบ ฟิชเชอร์ เอ็กแซ็ค พบว่า การติดอยู่ของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันของทั้งสองกลุ่มนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.24)การเคลือบหลุมและร่องฟันเป็นวิธีการหนึ่งในการลดการเกิดฟันผุที่ด้านบดเคี้ยวแต่ในฟันที่ยังขึ้นไม่เต็มซี่นั้นการเคลือบหลุมและร่องฟันมักจะพบปัญหาการปนเปื้อนน้ำลายและการจัดการกับเนื้อเยื่อรอบๆ ระหว่างที่ทำ ทำให้ประสิทธิผลค่อนข้างต่ำ การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าการใช้สารบอนดิงเพื่อเปรียบเทียบการติดอยู่ของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันคอนไซส์ชนิดฉายแสง เมื่อใช้ร่วมกับสารบอนดิงซิงเกิลบอนด์ กับการใช้วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันเพียงอย่างเดียว บนฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งที่ขึ้นมาเพียงบางส่วนที่ในระยะเวลา 3 เดือนจำนวน 36 ซี่ในเด็ก 21 คน การศึกษาแบ่งฟันโดยการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่่ใช้สารบอนดิงร่วมกับวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันกับกลุ่มซึ่งใช้วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันเพียงอย่างเดียว ผลการศึกษาพบว่า ที่ระยะเวลา 3 เดือน กลุ่มที่ใช้สารบอนดิงซิงเกิลบอนด์มีการติดอยู่อย่างสมบูรณ์ของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันร้อยละ 88.89 และหลุดไปบางส่วนร้อยละ 11.11 ส่วนกลุ่มที่ใช้วัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันเพียงอย่างเดียวมีการติดอยู่อย่างสมบูรณ์ร้อยละ 77.78 และหลุดไปบางส่วนร้อยละ 22.22 ทั้งสองกลุ่มไม่พบการหลุดไปทั้งหมดของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟัน เมื่อวิเคราะห์ผลโดยใช้การทดสอบ ฟิชเชอร์ เอ็กแซ็ค พบว่า การติดอยู่ของวัสดุเคลือบหลุมและร่องฟันของทั้งสองกลุ่มนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.24)