ข้อมูลบทความ
ปี 2002 ปีที่ 52 ฉบับที่ 1 หน้า 2-9
Title:
ความต้านทานต่อการแตกในแนวดิ่งของรากฟันที่ได้รับการรักษารากเมื่อยึดด้วยเรซินซีเมนต์สองชนิด
Keyword(s):
resin cements, resistance, vertical root fracture
Abstract:
 
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบความต้านทานต่อการแตกในแนวดิ่งของรากฟันที่ได้รับการรักษารากโดยใช้เรซินซีเมนต์สองชนิดเป็นสารยึด (ซุปเปอร์บอนด์ และ 3 เอ็ม รีลายเอ็กซ์ เออาร์ซี) พร้อมทั้งตรวจดูการไหลแผ่ของซีเมนต์บริเวณรอยแตกทำการศึกษาในฟันตัดบนซี่ที่หนึ่งของมนุษย์ซึ่งถูกถอนที่มีความหนาของเนื้อฟันใกล้เคียงกัน จำนวน 30 ซี่ ตัดส่วนตัวฟันออกให้เหลือความยาวรากฟัน 11 มิลลิเมตร ทำการขยายและอุดคลองราก นำมาทำเดือยและแกนฟันโลหะ และสร้างเอ็นยึดปริทันต์จำลองด้วยวัสดุซิลิโคนแล้วฝังในปูนเวลมิกซ์ ทำให้รากฟันแตกด้วยเครื่องทดสอบแรงสากล บันทึกแรงกดซึ่งมีหน่วยเป็นกิโลนิวตัน จากนั้นแบ่งฟันเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ซี่ ใช้วัสดุทั้งสองชนิดยึดเดือยและแกนฟันกลับในคลองราก ปล่อยให้ซีเมนต์แข็งตัว 24 ชั่วโมง โดยรักษาความชื้นสัมพัทธ์ 100% นำฟันพร้อมเดือยฟันที่ทำการยึดด้วยซีเมนต์แล้วไปกดจนรากฟันแตกอีกครั้ง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบแรงที่ทำให้เกิดการแตกในแนวดิ่งของรากฟันก่อนและหลังจากยึดด้วยเรซินซีเมนต์ พบว่าแรงที่ทำให้รากฟันแตกก่อนการยึดด้วยซีเมนต์มีค่ามากกว่าแรงที่ทำให้รากฟันที่แตกแล้วและยึดด้วยซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนแรงที่ทำให้เกิดการแตกในแนวดิ่งของรากฟันระหว่างซีเมนต์ทั้งสองชนิด พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) เมื่อตรวจดูการไหลแผ่ของซีเมนต์บริเวณรอยแตก พบว่า เรซินซีเมนต์ทั้งสองชนิดไม่สามารถไหลแผ่เข้าไปในรอยแตกได้ตลอดความหนาของเนื้อฟันวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบความต้านทานต่อการแตกในแนวดิ่งของรากฟันที่ได้รับการรักษารากโดยใช้เรซินซีเมนต์สองชนิดเป็นสารยึด (ซุปเปอร์บอนด์ และ 3 เอ็ม รีลายเอ็กซ์ เออาร์ซี) พร้อมทั้งตรวจดูการไหลแผ่ของซีเมนต์บริเวณรอยแตกทำการศึกษาในฟันตัดบนซี่ที่หนึ่งของมนุษย์ซึ่งถูกถอนที่มีความหนาของเนื้อฟันใกล้เคียงกัน จำนวน 30 ซี่ ตัดส่วนตัวฟันออกให้เหลือความยาวรากฟัน 11 มิลลิเมตร ทำการขยายและอุดคลองราก นำมาทำเดือยและแกนฟันโลหะ และสร้างเอ็นยึดปริทันต์จำลองด้วยวัสดุซิลิโคนแล้วฝังในปูนเวลมิกซ์ ทำให้รากฟันแตกด้วยเครื่องทดสอบแรงสากล บันทึกแรงกดซึ่งมีหน่วยเป็นกิโลนิวตัน จากนั้นแบ่งฟันเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ซี่ ใช้วัสดุทั้งสองชนิดยึดเดือยและแกนฟันกลับในคลองราก ปล่อยให้ซีเมนต์แข็งตัว 24 ชั่วโมง โดยรักษาความชื้นสัมพัทธ์ 100% นำฟันพร้อมเดือยฟันที่ทำการยึดด้วยซีเมนต์แล้วไปกดจนรากฟันแตกอีกครั้ง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบแรงที่ทำให้เกิดการแตกในแนวดิ่งของรากฟันก่อนและหลังจากยึดด้วยเรซินซีเมนต์ พบว่าแรงที่ทำให้รากฟันแตกก่อนการยึดด้วยซีเมนต์มีค่ามากกว่าแรงที่ทำให้รากฟันที่แตกแล้วและยึดด้วยซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนแรงที่ทำให้เกิดการแตกในแนวดิ่งของรากฟันระหว่างซีเมนต์ทั้งสองชนิด พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) เมื่อตรวจดูการไหลแผ่ของซีเมนต์บริเวณรอยแตก พบว่า เรซินซีเมนต์ทั้งสองชนิดไม่สามารถไหลแผ่เข้าไปในรอยแตกได้ตลอดความหนาของเนื้อฟัน