ข้อมูลบทความ
ปี 2002 ปีที่ 52 ฉบับที่ 1 หน้า 10-17
Title:
สถานภาพของโรคฟันผุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเด็กวัย 18-72 เดือน ที่เข้ารับการรักษาในมหาวิทยาลัยมหิดล
Author(s):
อารยา พงษ์หาญยุทธ, นงลักษณ์ พันธ์จารุนิธิ, นุชนภางค์ ตรีธรรมพินิจ
Keyword(s):
Bottle feeding, dental caries status, decicuous dentition, related factors, Thailand
Abstract:
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินสถานภาพของโรคฟันผุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มเด็กที่เข้ารับการรักษาในคลินิกทันตกรรมเด็กมหาวิทยาลัยมหิดล โดยทำการตรวจฟันผุและแผ่นคราบจุลินทรีย์ในผู้ป่วยเด็กใหม่อายุไม่เกิน 6 ปี (อายุเฉลี่ย 47.62±12.29 เดือน) จำนวน 104 คน ตรวจฟันผุและแผ่นคราบจุลินทรีย์ในมารดาของผู้ป่วยเด็ก ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคฟันผุจากแบบสอบถามที่ผู้ปกครองกรอกในเรื่องของประวัติทั่วไป พฤติกรรมการเลี้ยงดูและการรับประทานอาหารว่างของเด็ก การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเด็ก และการพาเด็กไปพบทันตแพทย์ จากการศึกษาพบว่าเด็กกลุ่มที่ศึกษามีค่าเฉลี่ยฟันน้ำนมผุ ถอน อุด 7.00±6.15 ซี่ต่อคนในจำนวนนี้มีเด็ก 29% ไม่มีฟันผุ เด็กจำนวน 26% มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดประมาณ 6-10 ซี่ต่อคน ปัจจัยที่ป้องกันฟันผุอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) มี 5 ปัจจัย ได้แก่ ฟลูออไรด์เสริม การดูดน้ำตามหลังจากดูดนมขวด การทำความสะอาดช่องปากในทารกอายุน้อยกว่าหนึ่งปี มารดามีการศึกษาสูงกว่ามัธยมปลาย และการดื่มนมเป็นอาหารว่าง ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดฟันผุอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) มี 3 ปัจจัย คือ การรับประทานของหวานหรือขนมเป็นประจำ การดูดขวดนมคาปากขณะหลับ และปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ จากการวิเคราะห์โดยวิธีมัลติวาริเอดโลจิสติก รีเกรสชั่น (multivariate logistic regression) พบว่าการดูดขวดนมคาปากขณะหลับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดฟันผุ จากผลการศึกษาสามารถทำนายได้ว่ากลุ่มเด็กที่ดูดนมคาปากขณะหลับเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินสถานภาพของโรคฟันผุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มเด็กที่เข้ารับการรักษาในคลินิกทันตกรรมเด็กมหาวิทยาลัยมหิดล โดยทำการตรวจฟันผุและแผ่นคราบจุลินทรีย์ในผู้ป่วยเด็กใหม่อายุไม่เกิน 6 ปี (อายุเฉลี่ย 47.62±12.29 เดือน) จำนวน 104 คน ตรวจฟันผุและแผ่นคราบจุลินทรีย์ในมารดาของผู้ป่วยเด็ก ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคฟันผุจากแบบสอบถามที่ผู้ปกครองกรอกในเรื่องของประวัติทั่วไป พฤติกรรมการเลี้ยงดูและการรับประทานอาหารว่างของเด็ก การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเด็ก และการพาเด็กไปพบทันตแพทย์ จากการศึกษาพบว่าเด็กกลุ่มที่ศึกษามีค่าเฉลี่ยฟันน้ำนมผุ ถอน อุด 7.00±6.15 ซี่ต่อคนในจำนวนนี้มีเด็ก 29% ไม่มีฟันผุ เด็กจำนวน 26% มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดประมาณ 6-10 ซี่ต่อคน ปัจจัยที่ป้องกันฟันผุอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) มี 5 ปัจจัย ได้แก่ ฟลูออไรด์เสริม การดูดน้ำตามหลังจากดูดนมขวด การทำความสะอาดช่องปากในทารกอายุน้อยกว่าหนึ่งปี มารดามีการศึกษาสูงกว่ามัธยมปลาย และการดื่มนมเป็นอาหารว่าง ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดฟันผุอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) มี 3 ปัจจัย คือ การรับประทานของหวานหรือขนมเป็นประจำ การดูดขวดนมคาปากขณะหลับ และปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ จากการวิเคราะห์โดยวิธีมัลติวาริเอดโลจิสติก รีเกรสชั่น (multivariate logistic regression) พบว่าการดูดขวดนมคาปากขณะหลับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดฟันผุ จากผลการศึกษาสามารถทำนายได้ว่ากลุ่มเด็กที่ดูดนมคาปากขณะหลับเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุ