ข้อมูลบทความ
ปี 2002 ปีที่ 52 ฉบับที่ 1 หน้า 26-34
Title:
ความเข้มข้นของยาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกหลังการฉีดล้างยาในพ็อกเก็ต
Author(s):
ศรีสุดา ถิ่นพังงา, เอมอร เบญจวงศ์สกุลชัย, ชนินทร์ เตชะประเสริฐวิทยา
Keyword(s):
Gingival Crevicular fluid, Pocket irrigation, Tetracycline Hydrochloride
Abstract:
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของยาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกที่สูงพอจะยับยั้งการเจริญของจุลชีพ หลังจากฉีดล้างในพ็อกเก็ตเพียงครั้งเดียว ด้วยสารละลายที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5 และควมเข้มข้นร้อยละ 10 ตามเวลาที่กำหนด ผู้รับการทดลองเป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง 45 คน ซึ่งไม่มีโรคทางระบบ ได้รับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันทั้งปาก และไม่ได้รับประทานยาเททระไซคลีนในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ตำแหน่งด้านฟันที่ใช้ศึกษา คือ ด้านฟันที่มีพ็อกเก็ต 5-7 มิลลิเมตร (ความลึกเฉลี่ย 5.11 มิลลิเมตร) จำนวน 200 ตำแหน่ง แล้วแบ่งกลุ่มๆ ละ 100 ตำแหน่ง เพื่อที่จะฉีดล้างในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5 และความเข้มข้นร้อย 10 ในปริมาตร 15 มิลลิลิตร ใช้เวลา 5 นาทีต่อตำแหน่ง หลังจากนั้นใช้กระดาษกรองเก็บน้ำเหลืองเหงือกในแต่ละพ็อกเก็ตตามเวลาที่กำหนด คือ 1 ชั่วโมงหลังการฉีดล้าง 1 วันหลังการฉีดล้าง 3 วันหลังการฉีดล้าง 5 วันหลังการฉีดล้าง และ 7 วันหล้งการฉีดล้าง แล้ววัดความเข้มข้นของยาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ที่คงอยู่ ด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวแบบสมรรถนะสูง ผลการวิจัยเกี่ยวกับความเข้มข้นของยาที่เหลืออยู่ในช่วงเวลา 1 ชั่วโมงหลังการฉีดล้าง 1 วันหลังการฉีดล้าง 3 วันหลังการฉีดล้าง และ 5 วันหลังการฉีดล้าง ปรากฏว่าความเข้มข้นของยาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกทั้งสองกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และยามีความเข้มข้นสูงพอที่จะยับยั้งการเจริญของจุลชีพ (≥8 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) สำหรับในช่วงเวลา 7 วันหลังการฉีดล้าง ความเข้มข้นของยาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกทั้งสองกลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบว่ากลุ่มสารละลายที่มีความเข้มข้นร้อยละ 10 มียาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือก 10.13±1.77 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สูงกว่ากลุ่มสารละลายที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5 มียาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือก 5.41±0.84 ไมโครกรัม/มิลลิลิตรวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของยาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกที่สูงพอจะยับยั้งการเจริญของจุลชีพ หลังจากฉีดล้างในพ็อกเก็ตเพียงครั้งเดียว ด้วยสารละลายที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5 และควมเข้มข้นร้อยละ 10 ตามเวลาที่กำหนด ผู้รับการทดลองเป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง 45 คน ซึ่งไม่มีโรคทางระบบ ได้รับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันทั้งปาก และไม่ได้รับประทานยาเททระไซคลีนในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ตำแหน่งด้านฟันที่ใช้ศึกษา คือ ด้านฟันที่มีพ็อกเก็ต 5-7 มิลลิเมตร (ความลึกเฉลี่ย 5.11 มิลลิเมตร) จำนวน 200 ตำแหน่ง แล้วแบ่งกลุ่มๆ ละ 100 ตำแหน่ง เพื่อที่จะฉีดล้างในพ็อกเก็ตด้วยสารละลายเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5 และความเข้มข้นร้อย 10 ในปริมาตร 15 มิลลิลิตร ใช้เวลา 5 นาทีต่อตำแหน่ง หลังจากนั้นใช้กระดาษกรองเก็บน้ำเหลืองเหงือกในแต่ละพ็อกเก็ตตามเวลาที่กำหนด คือ 1 ชั่วโมงหลังการฉีดล้าง 1 วันหลังการฉีดล้าง 3 วันหลังการฉีดล้าง 5 วันหลังการฉีดล้าง และ 7 วันหล้งการฉีดล้าง แล้ววัดความเข้มข้นของยาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ที่คงอยู่ ด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวแบบสมรรถนะสูง ผลการวิจัยเกี่ยวกับความเข้มข้นของยาที่เหลืออยู่ในช่วงเวลา 1 ชั่วโมงหลังการฉีดล้าง 1 วันหลังการฉีดล้าง 3 วันหลังการฉีดล้าง และ 5 วันหลังการฉีดล้าง ปรากฏว่าความเข้มข้นของยาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกทั้งสองกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และยามีความเข้มข้นสูงพอที่จะยับยั้งการเจริญของจุลชีพ (≥8 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) สำหรับในช่วงเวลา 7 วันหลังการฉีดล้าง ความเข้มข้นของยาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือกทั้งสองกลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบว่ากลุ่มสารละลายที่มีความเข้มข้นร้อยละ 10 มียาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือก 10.13±1.77 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สูงกว่ากลุ่มสารละลายที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5 มียาเททระไซคลีนไฮโดรคลอไรด์ในน้ำเหลืองเหงือก 5.41±0.84 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร