Title:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมในช่วงอายุครรภ์ 4 - 6 เดือน
ของหญิงตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร
Keyword(s):
พฤติกรรมทันตสุขภาพ, การรับรู้สภาวะสุขภาพช่องปาก, หญิงตั้งครรภ์, ความพึงพอใจ, การเข้ารับบริการ ทางทันตกรรม
Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเข้ารับบริการ
ทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์กับตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพ การรับรู้สภาวะ
สุขภาพช่องปากตนเอง ความเข้าใจ และพึงพอใจต่อขั้นตอนการบริการ ทันตกรรม การเก็บข้อมูลโดยการบันทึกจาก
ข้อมูลแฟ้มประวัติ และการสัมภาษณ์หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 25 สัปดาห์ขึ้นไป ที่โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร
ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับ และไม่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมมีจำนวน 86 และ 75 คน ตามลำดับ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวแปรเดียว
คือ ความรู้เรื่องโรคปริทันต์อักเสบทำให้ลูกมีนํ้าหนักตํ่ากว่าเกณฑ์ และกรณีฉุกเฉินเดือนที่ 7 - 9 รับบริการทันตกรรมได้
การเคยเข้ารับบริการทันตกรรมที่โรงพยาบาลหลังสวน ทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าปกติ
เพราะกลัวส่งผลเสียต่อลูกในท้อง การรับรู้ระดับสุขภาพช่องปากของตนเอง การรับรู้การรักษาทางทันตกรรม การรับรู้
ระดับความจำเป็นการรักษาโรคในช่องปาก และความพึงพอใจต่อบัตรนัด เมื่อควบคุมตัวแปรการเคยเข้ารับบริการทันต-
กรรมที่โรงพยาบาลหลังสวนพบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทาง-
สถิติคือ การมีทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากมากกว่าปกติ เพราะกลัวส่งผลเสียต่อลูกในท้อง (OR = 2.61) และ
การรับรู้การรักษาทางทันตกรรม (OR = 2.15)