ข้อมูลบทความ
Title:
การเข้าถึงบริการทันตกรรมและประสบการณ์ฟันผุในฟันน้ำนมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 เขตเทศบาลนครนนทบุรี
Keyword(s):
Access to dental care, Past deciduous dental caries experience, Primary student, Utilization of dental services
Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เพื่อศึกษาการเข้าถึงบริการทันตกรรม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไปรับบริการทันตกรรม รวมทั้งเปรียบเทียบประสบการฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กก่อนร่วมโครงการ ระหว่างกลุ่มที่ได้ไป และไม่ได้ไปรับบริการทันตกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เขตเทศบาลนครนนทบุรี เฉพาะที่อยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบส่งต่อนักเรียนประถมศึกษา เพื่อการบริการป้องกันและรักษาทางทันตกรรมจำนวนทั้งหมด 9 แห่ง ในปีการศึกษา 2556 ข้อมูลทุติยภูมินำมาจากฐานข้อมูลสุขภาพช่องปากของโรงเรียนในปีพ.ศ. 2556 ส่งแบบสอบถามไปยังผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองตอบแบบสอบถามข้อมูลการไปรับบริการทันตกรรมของนักเรียนรวมได้จำนวนตัวอย่าง 675 คน คิดเป็นร้อยละ 80.5 ของทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า ในรอบปีที่ผ่านมานักเรียนไปรับบริการทันตกรรมร้อยละ 74.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้ไปรับบริการทันตกรรม โดยเรียงปัจจัยที่มีน้ำหนักจากมากไปหาน้อยคือ การที่นักเรียนเคยมีปัญหาปวดฟัน ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง การทราบว่า มีโครงการนัดทำฟันนักเรียนฟรีที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า การได้รับใบรายงานผลการตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียน การเคยรับบริการทันตกรรมของผู้ปกครองและการที่ถูกครูกระตุ้นให้พานักเรียนไปรับบริการทันตกรรม (OR = 2.45 2.36 2.26 1.90 1.66 และ 1.65) นักเรียนโรงเรียนเอกชน นักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้มาก หรือผู้ปกครองมีระดับการศึกษาสูงกว่า มีฟันน้ำนมผุน้อยกว่า (p < 0.01) แต่พบวา่ ความชกุ ของฟนั น้ำนมผขุ องเดก็ นกั เรยี นทไี่ ป และไมไ่ ดไ้ ปรบั บรกิ ารทนั ตกรรมไมแ่ ตกตา่ งกนั การจัดทำโครงการระบบส่งต่อควรมีการดำเนินต่อไป เพื่อเกิดความเท่าเทียมกันของการได้รับบริการ โดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาน้อย ซึ่งมีปัญหาฟันผุมากแต่กลับไปรับบริการน้อย ให้ได้เข้าถึงการบริการทันตกรรมมากขึ้น