ข้อมูลบทความ
ปี 2016 ปีที่ 66 ฉบับที่ 3 หน้า 149-170
Title:
สารปรับสภาพผิวเนื้อฟันสำหรับกลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์
Keyword(s):
สารปรับสภาพผิวเนื้อฟัน, กลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์, กรดพอลิอะคริลิก
Abstract:
บทความปริทัศน์เรื่องสารปรับสภาพผิวเนื้อฟันสำหรับกลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและเรียบเรียงสารที่ใช้ปรับสภาพผิวเนื้อฟันก่อนการบูรณะด้วยกลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ โดยการใช้สารเหล่านี้เพื่อทำความสะอาดผิวฟัน กำจัดหรือดัดแปรชั้นสเมียร์ ละลายแร่ธาตุที่ผิวฟัน เพิ่มพื้นที่ผิวฟันระดับจุลภาค เพิ่มค่าแรงยึดทางกลและเคมีระหว่างผิวฟันกับกลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้สารปรับสภาพผิวเนื้อฟันหลายชนิด เช่น กรดซิตริก สารละลายของแร่ธาตุ กรดพอลิอะคริลิก เอทิลีนไดเอมีนเททระอะซิติกแอซิดหรืออีดีทีเอกรดฟอสฟอริก และสารปรับสภาพผิวชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิดด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน เช่น ทาแล้วล้างน้ำออกหรือไม่ต้องล้างน้ำออก ความเข้มข้นและระยะเวลาที่สารสัมผัสผิวฟันก็แตกต่างกันไป โดยกรดพอลิอะคริลิกที่ความเข้มข้นร้อยละ 10-30 ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นสารชนิดเดียวกับส่วนเหลวของกลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่มีสมบัติเป็นกรดอ่อน น้ำหนักโมเลกุลสูง สามารถทำความสะอาดและดัดแปรชั้นสเมียร์ได้ ไม่ทำให้ท่อเนื้อฟันเปิดเมื่อใช้ความเข้มข้น และระยะเวลาการทาที่เหมาะสม อีกทั้งยังสร้างความขรุขระที่ผิวฟันและส่งเสริมให้เกิดพันธะเคมีระหว่างผลึกไฮดรอกซี อะพาไทต์กับกลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ ปัจจุบันมีสารปรับสภาพผิวเนื้อฟันสำหรับกลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าออกวางจำหน่ายควบคู่กับกลาสส์ไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์มีองค์ประกอบทางเคมี และวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้วัสดุสามารถอยู่ในช่องปากของผู้ป่วยได้อย่างยาวนานและเกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด