ข้อมูลบทความ
ปี 2018 ปีที่ 68 ฉบับที่ 1 หน้า 73-83
Title:
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความแข็งเหนียวของอาหารไทยจากความรู้สึกกับค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
Keyword(s):
ความแข็ง, ความเหนียว, พารามิเตอร์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, มาตรวัดด้วยสายตา, อาหาร
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความแข็งเหนียวของอาหารไทยจากความรู้สึกโดยใช้แบบสอบถามเทียบกับการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจากค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ในกลุ่มตัวอย่างวัยหนุ่มสาวของประเทศไทยที่สุขภาพดี ไม่มีปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร จำนวน 32 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งเหนียวแตกต่างกัน 5 ชนิด แล้วทดสอบระดับความแข็งเหนียวของอาหารด้วยแบบสอบถามมาตรวัดด้วยสายตา (วีเอเอส) เทียบกับการบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบดเคี้ยว ผลการศึกษาพบว่าทั้งคะแนนความแข็งและความเหนียวของอาหารจากแบบสอบถาม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อบดเคี้ยวทุกพารามิเตอร์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันอยู่ระหว่าง 0.224-0.384 โดยสรุปแล้วผู้วิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างการทดสอบอาหารทั้งสองวิธีในระดับต่ำถึงปานกลาง อาจเนื่องมาจากกล้ามเนื้อบดเคี้ยวมีการปรับตัวที่ดีต่อความแข็งเหนียวของอาหาร การใช้แบบสอบถามในการประเมินระดับความแข็งเหนียวของอาหาร จึงสามารถบ่งบอกถึงการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวได้ในระดับหนึ่ง