ข้อมูลบทความ
ปี 2018 ปีที่ 68 ฉบับที่ 4 หน้า 370-380
Title:
ผลของการเตรียมผิวต่อความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคของวัสดุครอบฟันชั่วคราวบิสเอคริวเรซินและเรซินอะคริลิกชนิดบ่มเอง
Keyword(s):
บิสเอคริลเรซิน, เรซินอะคริลิกชนิดบ่มเอง, ความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาค, ซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟ
Abstract:
วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาผลของการเตรียมผิวต่อความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคของวัสดุครอบฟันชั่วคราวบิสเอคริลเรซิน
(โปรเทมส์โฟร์) และเรซินอะคริลิกชนิดบ่มเอง (ยูนิฟาสต์เทรด) ชิ้นงานทดสอบบิสเอคริลเรซิน ทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร
สูง 5 มิลลิเมตร ถูกเก็บในน้ำลายเทียมอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 14 วัน สุ่มชิ้นงานเพื่อแบ่งชิ้นงานตามการเตรียมผิวเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มละ 20 ชิ้น (1) พ่นผิวให้ขรุขระด้วยอะลูมิเนียมออกไซด์ 50 ไมครอน (2) ทาสารยึดติดขั้นตอนเดียวซิงเกิลบอนด์ยูนิเวิลล์เซิลแอดฮีซีฟ (3)
ไม่ทำการเตรียมผิว ในการทดลองชิ้นงานภายหลังการเตรียมผิวแล้วจะทำการยึดกับเรซินอะคริลิกชนิดบ่มเองและนำชิ้นงานมาตัดเป็น
รูปดัมเบลล์ พื้นที่หน้าตัด 1 ตารางมิลลิเมตร ทดสอบความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคโดยเครื่องทดสอบสากล นำค่าเฉลี่ยความแข็งแรง
ยึดดึงมาวิเคราะห์ทางสถิติความแปรปรวนทางเดียวและสถิติเชิงซ้อนด้วยทูกีย์เอชเอสดี ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ตรวจสอบการแตกหักชิ้น
งานด้วยกล้องสเตอริโอไมโครสโคปและประเมินพื้นผิวชิ้นงานด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแสงส่องกราด ผลการทดลองพบว่ากลุ่ม
บิสเอคริลเรซินที่พ่นผิวด้วยอะลูมีเนียมออกไซด์ก่อนการยึดกับเรซินอะคริลิกชนิดบ่มเองให้ค่าเฉลี่ยแรงยึดดึงสูงสุดและสูงกว่ากลุ่มที่ไม่
ทำการเตรียมผิวและการใช้สารยึดติดทาพื้นผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มที่ไม่
ทำการเตรียมผิวและกลุ่มที่ทาสารยึดติดบนพื้นผิว ลักษณะการแตกหักที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นการแตกหักที่เกิดขึ้นภายในส่วนบิสเอคริล
เรซินหรือเรซินอะคริลิกชนิดบ่มเอง ผลของการเตรียมผิวบิสเอคริลเรซินด้วยการพ่นผิวด้วยอะลูมีเนียมออกไซด์ก่อนการยึดกับเรซินอะคริ
ลิกชนิดบ่มเองให้ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดดึงสูงที่สุดและสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ