ข้อมูลบทความ
ปี 2018 ปีที่ 68 ฉบับที่ 4 หน้า 381-393
Title:
ประสิทธิผลของการตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับของการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในคลินิกเด็กดีคุณภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีทันตาภิบาลประจำในจังหวัดพังงา: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
Keyword(s):
การตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับ, การประเมินความเสี่ยงฟันผุ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก, ทันตาภิบาล, การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
Abstract:
วัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับของการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน
คลินิกเด็กดีคุณภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีทันตาภิบาลประจำ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม
และมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิด 2 ด้าน ศึกษาในทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จำนวน 14 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
อย่างละ 7 คน เด็กพร้อมผู้ปกครองที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของทันตาภิบาล จำนวน 752 คู่ เป็นกลุ่มควบคุม 372 คู่ และกลุ่มทดลอง 380
คู่ ในกลุ่มทดลองทันตาภิบาลจะได้รับการตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งในภาพรวมและรายบุคคลแบบลับ จากนั้นร่วมกันวางแผน
การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา ประเมินผลการปฏิบัติงานของทันตาภิบาลในประเด็นความครอบคลุมและความถูกต้องในการประเมิน
ความเสี่ยงต่อฟันผุ โดยการตรวจสอบแฟ้มประวัติ ประเมินผลพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองและ
ประเมินความสะอาดของช่องปาก ที่เวลาเริ่มต้นและ 6 เดือนหลังการตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับ ผลการวิจัยพบว่า อายุเฉลี่ยของ
เด็กที่เวลาเริ่มต้นคือ 22.4±7.8 เดือนในกลุ่มควบคุมและ 20.8±6.6 เดือนในกลุ่มทดลอง ที่ระยะเวลา 6 เดือนหลังจากตรวจสอบและให้
ข้อมูลย้อนกลับมีเด็กคงอยู่ในการศึกษาจำนวน 642 คน (ร้อยละ 85.4) อายุเฉลี่ยคือ 27.5±7.1 เดือนในกลุ่มควบคุมและ 26.8±6.4 เดือน
ในกลุ่มทดลอง พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเรื่องของความครอบคลุมและความถูก
ต้องในการประเมินความเสี่ยงต่อฟันผุของทันตาภิบาล พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองและความสะอาดของช่อง
ปากเด็ก จากการศึกษาครั้งนี้สรุปผลได้ว่า การตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงานของทันตาภิบาล
ที่ประจำใน รพ.สต. มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก และความสะอาดช่องปาก