ข้อมูลบทความ
ปี 2018 ปีที่ 68 ฉบับที่ 4 หน้า 402-412
Title:
ช่องว่างที่เกิดขึ้นในการบูรณะเรซินคอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนในโพรงฟันชนิดคลาสทู
Keyword(s):
การบูรณะ, ช่องว่าง, เรซินคอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อน, ไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี่, โพรงฟันชนิดคลาสทู
Abstract:
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินถึงผลของวิธีการบูรณะวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนที่มีรูปแบบผลิตภัณฑ์
และลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันในโพรงฟันชนิดคลาสทู ต่อช่องว่างที่เกิดขึ้นในการบูรณะ ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี่
โดยทำการเตรียมโพรงฟันชนิดคลาสทูในฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งทั้งหมด 40 ซี่ แบ่งตามกลุ่มของการบูรณะเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1
บูรณะด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต ชนิดบูรณะทั้งก้อนแบบหลอด โดยตักวัสดุใส่โพรงฟันเพียงครั้งเดียว กลุ่มที่ 2 บูรณะด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต
ชนิดบูรณะทั้งก้อนแบบหลอด โดยตักวัสดุใส่โพรงฟันสองครั้ง กลุ่มที่ 3 บูรณะด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต ชนิดบูรณะทั้งก้อนแบบแคปซูล
โดยฉีดวัสดุเพียงครั้งเดียว และกลุ่มที่ 4 ทำการบูรณะด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนแบบแคปซูล โดยฉีดวัสดุเพียงครั้งเดียว
จาก SonicFill Handpiece ภายหลังบูรณะ เก็บชิ้นตัวอย่างไว้ในตู้ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็น
เวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นประเมินร้อยละของชอ่ งว่างที่เกิดขึ้นทั้งหมดภายในโพรงฟันที่บูรณะแล้วด้วยเครื่องไมโครคอมพวิ เตดโทโมกราฟฟี่
วิเคราะห์ข้อมูลด้วย One-way ANOVA ร่วมกับ Tukey Post-hoc test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละของ
ช่องว่างในกลุ่มที่ 2 ซึ่งบูรณะด้วยการตักวัสดุสองครั้ง (1.62 %) มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ร้อยละของช่องว่างของกล่มุ
ที่ 1 ซึ่งตักวัสดุเพียงครั้งเดียวหรือกลุ่มที่ 3 และ 4 ซึ่งฉีดวัสดุใส่โพรงฟันเพียงครั้งเดียวไม่แตกต่างกัน (0.49 %, 0.33 % และ 0.21 % ตาม
ลำดับ) สรุปผลการศึกษาได้ว่า การบูรณะโพรงฟันชนิดคลาสทูด้วยเรซินคอมโพสิต ชนิดบูรณะทั้งก้อน โดยวิธีตักวัสดุใส่โพรงฟันสองครั้ง
เกิดช่องว่างในการบูรณะมากที่สุด