ข้อมูลบทความ
ปี 2018 ปีที่ 68 ฉบับที่ 4 หน้า 420-427
Title:
ผลของไซลิทอลวาร์นิชต่อการสึกกร่อนของผิวเคลือบฟันในห้องปฏิบัติการ
Keyword(s):
การสูญเสียแร่ธาตุ, ฟันสึกกร่อน, ฟลูออไรด์วาร์นิช, นํ้าอัดลม, ไซลิทอลวาร์นิช
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมบัติในการป้องกันการสึกกร่อนของผิวเคลือบฟันจากการกัดกร่อนของกรดจากนํ้า
อัดลม ของไซลิทอลวาร์นิชที่ต่างกัน 2 ความเข้มข้น และฟลูออไรด์วาร์นิช เตรียมชิ้นทดสอบจากฟันกรามน้อยของมนุษย์ 25 ซี่ แบ่งครึ่ง
ฟันในแนวใกล้กลางถึงไกลกลางฟัน น�ำ ชิ้นเคลือบฟันด้านใกล้แก้มและใกล้ลิ้นไปขัดเพื่อให้ได้พื้นที่ทดลอง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3
มิลลิเมตร ทาน�้ำยาเคลือบเล็บบริเวณพื้นผิวที่ขัดยกเว้นบริเวณที่จะท�ำ การทดสอบและแบ่งฟันแบบสุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ตามสารวาร์นิชที่
ใช้ในการทดลอง กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 กลุ่มฟลูออไรด์วาร์นิช กลุ่มที่ 3 กลุ่มไซลิทอลวาร์นิชความเข้มข้นร้อยละ 20 กลุ่มที่ 4
กลุ่มไซลิทอลวาร์นิชความเข้มข้นร้อยละ 30 และกลุ่มที่ 5 กลุ่มวาร์นิชที่ไม่มีฟลูออไรด์หรือน�้ำตาลไซลิทอลเป็นส่วนประกอบ ทาวาร์นิช
ก่อนการทำ ให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุและวันที่ 5 ของการทำ ให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ แช่ชิ้นงานด้วยน้ำอัดลมนาน 5 นาที เป็นเวลา 10
วัน นำมาวัดปริมาตรผิวเคลือบฟันที่สูญเสียไปด้วยเครื่องวัดความหยาบพื้นผิวแบบสัมผัส วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความ
แปรปรวนแบบจำแนกทางเดียวและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณชนิดทูกีย์ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ร้อยละ 95 ผล
การทดลองพบว่าปริมาตรเฉลี่ย (ลูกบาศก์มิลลิเมตร) ของผิวเคลือบฟันที่สูญเสียไปของกลุ่มควบคุม (0.0121±0.0019) และกลุ่มวาร์นิชที่
ไม่มีฟลูออไรด์หรือน้ำตาลไซลิทอลเป็นส่วนประกอบ (0.0117±0.0015) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มไซลิทอลวานิชความ
เข้มข้นร้อยละ 20 (0.0084±0.0004) มีปริมาตรผิวเคลือบฟันที่สูญเสียไปมากกว่ากลุ่มฟลูออไรด์วานิช (0.0070±0.0007) เล็กน้อย แต่ไม่
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่กลุ่มไซลิทอลวาร์นิชความเข้มข้นร้อยละ 30 (0.0055±0.0005) มีปริมาตรเฉลี่ยของผิวเคลือบฟันที่
สูญเสียไปน้อยที่สุด ซึ่งแตกต่างจากทุกกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า ไซลิทอลวาร์นิชความ
เข้มข้นร้อยละ 20 ช่วยลดการสึกกร่อนของผิวเคลือบฟันได้ไม่แตกต่างจากฟลูออไรด์วาร์นิช ในขณะที่ไซลิทอลวาร์นิชความเข้มข้นร้อยละ
30 ช่วยลดการสึกกร่อนของผิวเคลือบฟันจากน้ำอัดลมได้ดีกว่าฟลูออไรด์วานิชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ