ข้อมูลบทความ
ปี 2018 ปีที่ 68 ฉบับที่ 4 หน้า 318-328
Title:
แนวคิดการอักเสบของระบบประสาทต่อการเคลื่อนของฟันด้วยแรงทางทันตกรรมจัดฟัน
Keyword(s):
การเคลื่อนฟันทางทันตกรรมจัดฟัน, calcitonin gene-related peptide (CGRP), Substance P (SP), การเปลี่ยนแปลงรูป ร่างของกระดูก
Abstract:
การให้แรงทางทันตกรรมจัดฟันจะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของอวัยวะรอบรากฟันซึ่งได้แก่ เนื้อเยื่อในฟัน เอ็นยึดปริทันต์
กระดูกเบ้าฟันและเหงือก ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นทั้งในระดับที่มองเห็นในทางคลินิกและในระดับเซลล์ อัตราการเคลื่อนของฟันก็ขึ้น
อยู่กับลักษณะของแรงที่ได้รับจากภายนอกและการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของอวัยวะรอบรากฟัน แรงทางทันตกรรมจัดฟันนั้นจะช่วย
ปรับเปลี่ยนเอ็นยึดปริทันต์รวมถึงระบบไหลเวียนของเลือดบริเวณรอบ ๆ ฟัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในบริเวณนี้จะมีโมเลกุลของสาร
ตัวกลางที่เกี่ยวข้องหลายชนิด กล่าวคือ นิวโรทรานสมิตเตอร์ (neurotransmitter) ไซโตไคน์ (cytokines) โกรทแฟคเตอร์ (growth
factors) และ สารจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของกรดอะราชิโดนิก (arachidonic acid) กระบวนการอักเสบในระดับโมเลกุลนั้นจะมี
การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบรากฟัน โดยเฉพาะกระดูกที่จะเกิดการสลายและการสร้างตามลักษณะการได้รับ
แรงในแต่ละบริเวณ การศึกษาที่ผ่านมามักจะมุ่งความสนใจไปที่การศึกษากลไกของเซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) เซลล์หลอดเลือด
(endothelial cell) เซลล์สร้างกระดูก (osteoblast) และเซลล์สลายกระดูก (osteoclast) แต่การทบทวนวรรณกรรมฉบับนี้จะบรรยาย
ถึงกลไกของระบบประสาทที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของอวัยวะรอบรากฟันอันเป็นผลจากแรงทางทันตกรรมจัดฟัน