ข้อมูลบทความ
ปี 2019 ปีที่ 69 ฉบับที่ 1 หน้า 19-28
Title:
สภาวะสุขภาพช่องปากและความสัมพันธ์ระหว่างการดูแลอนามัยช่องปากกับสภาวะการมีฟันธรรมชาติของผู้สูงอายุติดบ้าน
Keyword(s):
ผู้สูงอายุติดบ้าน, สภาวะสุขภาพช่องปาก, การดูแลอนามัยช่องปาก, ระดับแผ่นคราบจุลินทรีย์, คราบที่ลิ้น
Abstract:
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลอนามัย
ช่องปากของผู้สูงอายุติดบ้านที่มีและไม่มีฟันธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะติดบ้าน
(Barthel ADL 5 - 11 หรือ ≥12 ที่เคลื่อนไหวจำกัด) จำนวน 110 คน ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
และตรวจในช่องปาก โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ อัตราส่วน ค่าเฉลี่ย Chi-square และ Fisher’s exact test ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 76.6±9.3 ปี อายุระหว่าง 60 ปี ถึง 102 ปี ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีฟันธรรมชาติร้อยละ 75.5 เฉลี่ย 11.7±10.4 ซี่ต่อ
คน ร้อยละ 35.5 มีฟันคู่สบใช้งานได้อย่างน้อย 4 คู่ ประมาณร้อยละ 65 มีตำแหน่งที่มีระดับแผ่นคราบจุลินทรีย์สูงสุดมากกว่า 2/3 ของ
ตัวฟัน และประมาณร้อยละ 60 มีตำแหน่งที่มีคราบที่ลิ้นสูงสุดที่ระดับ 3 หรือคราบหนา พบว่าสภาวะการมีหรือไม่มีฟันธรรมชาติสัมพันธ์
กับพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากในเรื่อง การแปรงฟัน/เหงือก ความถี่ในการทำความสะอาดช่องปาก และการทำความสะอาดช่อง
ปากอย่างเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าพบสัดส่วนที่สูงของผู้สูงอายุติดบ้านกลุ่มนี้มีปัญหา
สุขภาพช่องปาก และอนามัยช่องปาก และพบว่าสภาวะการมีฟันธรรมชาติสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก