ข้อมูลบทความ
ปี 2019 ปีที่ 69 ฉบับที่ 1 หน้า 83-91
Title:
ผลของอุณหภูมิการเก็บรักษาต่อค่ากำลังแรงยึดเฉือนของเรซินซีเมนต์ 3 ชนิดกับเนื้อฟัน
Keyword(s):
ความเสื่อม, เรซินซีเมนต์, ค่ากำลังแรงยึดเฉือน, อุณหภูมิการเก็บรักษา
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิการเก็บรักษาต่อค่ากำลังแรงยึดเฉือนของเรซินซีเมนต์ 3 ชนิดกับผิวเนื้อ
ฟัน โดยนำฟันกรามแท้ของมนุษย์จำนวน 90 ซี่ มาตัดด้านบดเคี้ยวให้เนื้อฟันเผย แบ่งฟันแบบสุ่มเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ซี่ ตามอุณหภูมิ
การเก็บรักษาเรซินซีเมนต์ ณ อุณหภูมิ 4, 25 และ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นแบ่งเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 10 ซี่ เพื่อนำ
มายึดกับแท่งเรซินคอมโพสิตด้วยเรซินซีเมนต์ 3 ชนิด ได้แก่ วาริโอลิงค์เอ็น พานาเวียเอฟทู และรีไลเอ็กซ์ยูสองร้อย นำชิ้นทดสอบแช่ใน
น้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ทดสอบหาค่ากำลังแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากล ที่ความเร็วหัวกด 0.5
มิลลิเมตรต่อนาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความแปรปรวนแบบสองทางและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติของทูกีย์ที่
ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จากนั้นศึกษารูปแบบความล้มเหลวด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอไมโครสโคปที่กำลังขยาย 40 เท่า ผลการ
ศึกษาพบว่า ค่ากำลังแรงยึดเฉือนของกลุ่มที่ใช้วาริโอลิงค์เอ็นและพานาเวียเอฟทูเมื่อเก็บเรซินซีเมนต์ไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และ
25 องศาเซลเซียส ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ซึ่งค่ากำลังแรงยึดเฉือนของกลุ่มดังกล่าวมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่เหลืออย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มของเรซินซีเมนต์ทั้ง 3 ชนิด เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 เดือน มีค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึด
เฉือนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่เรซินซีเมนต์ถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 และ 25 องศาเซลเซียส กลุ่มที่ยึดด้วยเรซิน
ซีเมนต์ชนิดรีไลเอ็กซ์ยูสองร้อยที่ถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ให้ค่าเฉลี่ยแรงยึดเฉือนต่ำกว่าทุก ๆ กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ลักษณะการแตกหักของผิวเนื้อฟันกลุ่มที่ยึดด้วยวาริโอลิงค์เอ็นหรือพานาเวียเอฟทูในทุกอุณหภูมิการเก็บรักษาเกิดความล้มเหลวแบบผสม
ส่วนกลุ่มที่ยึดด้วยรีไลเอ็กซ์ยูสองร้อยในทุกอุณหภูมิการเก็บรักษาเกิดความล้มเหลวแบบยึดไม่อยู่ จึงสรุปได้ว่า เรซินซีเมนต์ที่ถูกเก็บรักษา
ไว้ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 เดือน ให้ค่ากำลังแรงยึดเฉือนกับผิวเนื้อฟันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่ม
ที่ถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 และ 25 องศาเซลเซียส