ข้อมูลบทความ
ปี 2019 ปีที่ 69 ฉบับที่ 2 หน้า 162-174
Title:
ผลของการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันที และการเปลี่ยนอุณหภูมิร้อนเย็นแบบเป็นจังหวะมีต่อค่าความทนแรงดึงระดับจุลภาคด้วยสารยึดติดระบบเอ็ทช์แอนด์รินซ์แบบสามขั้นตอน
Keyword(s):
การเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันที, การจำลองสภาวะแรงดันน้ำภายในท่อเนื้อฟัน, การเปลี่ยนอุณหภูมิร้อนเย็นแบบเป็นจังหวะ, ค่าความทนแรงดึงระดับจุลภาค, สารยึดติดระบบเอ็ทช์แอนด์รินซ์แบบสามขั้นตอน
Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าความทนแรงดึงระดับจุลภาคของการยึดติดบนผิวฟันที่ทำการเคลือบปิดผิวเนื้อฟัน
ทันทีภายหลังการเปลี่ยนอุณหภูมิร้อนเย็นแบบเป็นจังหวะ โดยใช้ฟันกรามใหญ่ซี่ที่สามของมนุษย์จำนวน 64 ซี่ แบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10
ซี่ กำหนดให้กลุ่มที่ 1-3 เป็นกลุ่มที่ไม่ทำและกลุ่มที่ 4-6 เป็นกลุ่มที่ทำการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันที อีก 4 ซี่จะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มที่
1 และ 4 กลุ่มละ 2 ซี่ เพื่อนำไปตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ตัดผิวหน้าฟันในแนวระนาบที่ตำแหน่งต่ำกว่า
หลุมกลางฟัน 1 มิลลิเมตร และตำแหน่งต่ำกว่ารอยต่อของเคลือบฟันและเคลือบรากฟัน นำไปต่อเข้ากับเครื่องจำลองสภาวะแรงดันน้ำ
ภายในท่อเนื้อฟันทำการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันทีด้วยสารยึดติดระบบเอ็ทช์แอนด์รินซ์แบบสามขั้นตอนในกลุ่มที่ 4-6 ชิ้นงานทั้งหมดจะ
ผ่านการปนเปื้อนวัสดุพมิพ์ปาก วัสดุบูรณะชั่วคราว และซีเมนต์ยึดชั่วคราว จัดเก็บชิ้นงานที่เหลือในน้ำกลั่นที่มีความสูงของระดับน้ำสูงกว่า
ระนาบตัดฟัน 20 เซนติเมตร เป็นเวลา 7 วัน นำชิ้นงานมาบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตภายใต้การจำลองสภาวะแรงดันน้ำภายในท่อเนื้อฟัน
นำไปผ่านการเปลี่ยนอุณหภูมิร้อนเย็นแบบเป็นจังหวะที่ 0 5,000 และ 10,000 รอบ ตัดชิ้นงานให้เป็นรูปนาฬิกาทรายให้มีพื้นที่หน้าตัด
เท่ากับ 1.0 ± 0.01 ตารางมิลลิเมตร ทดสอบค่าความทนแรงดึงระดับจุลภาค ตรวจสอบรูปแบบการแตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบ
สเตอริโอที่กำลังขยาย 40 เท่า ตรวจสอบพื้นผิวฟัน และชั้นไฮบริดในฟัน 4 ซี่ ก่อนและหลังการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตด้วยกล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอนแบบส่องกราดตามลำดับ วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกสองทาง และการวิเคราะห์ความ
แปรปรวนแบบทางเดียว ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณชนิดทูคีย์ และวิเคราะห์รูปแบบของการแตกหักด้วยสถิติไคสแควร์
กำหนดระดับนัยสำคัญที่ร้อยละ 95 พบว่าที่จำนวนรอบของการเปลี่ยนอุณหภูมิที่เท่ากัน ค่าความทนแรงดึงระดับจุลภาคของกลุ่มที่ทำการ
เคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันทีมีค่ามากกว่า และการเปลี่ยนอุณหภูมิที่ 10,000 รอบจะส่งผลทำให้ค่าแรงยึดดึงระดับจุลภาคลดลงอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ ปัจจัยทั้งสองไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสถิติ ลักษณะการแตกหักเป็นแบบยึดไม่ติด และการแตกหักแบบผสม มีอัตราส่วนของการ
เกิดไม่แตกต่างกัน ภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าภายหลังจากการขัดผิวด้วยพัมมิส พบสิ่งอุดต้นท่อเนื้อฟัน
ในกลุ่มที่ทำการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันที