ข้อมูลบทความ
ปี 2019 ปีที่ 69 ฉบับที่ 2 หน้า 110-125
Title:
น้ำตาลอิสระ: สาเหตุของโรคฟันผุ
Keyword(s):
น้ำตาล, ป้องกันและควบคุม, ฟันผุ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, สร้างเสริมสุขภาพ
Abstract:
โรคฟันผุเป็นโรคทางช่องปากที่สำคัญที่สุด เป็นสาเหตุหลักของปัญหาในคุณภาพชีวิต การรักษาฟันผุที่เกิดใหม่และเกิดซ้ำซาก
ตลอดช่วงชีวิตเป็นภาระมหาศาลของระบบบริการ ฟันผุป้องกันได้ น้ำตาลอิสระหรือน้ำตาลนอกเซลล์ไม่รวมน้ำตาลในนม (non-milk
extrinsic sugars: NMES) เป็นสาเหตุหลักของฟันผุ น้ำตาลอิสระคือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและคู่ทุกชนิดที่มีอยู่ในธัญพืช ผักผลไม้ที่ผ่าน
กระบวนการแปรรูปแล้ว รวมทั้งน้ำผึ้ง น้ำเชื่อมธรรมชาติ และน้ำผลไม้ แต่ไม่รวมในนม โดยส่วนใหญ่คือน้ำตาลเติมอาหาร การแปรงฟัน
กำจัดคราบจุลินทรีย์ไม่เพียงพอเพราะบริเวณที่มักเกิดฟันผุคือหลุมร่องเล็ก ๆ และซอกเว้าเล็ก ๆ บนด้านประชิดที่ขนแปรงสีฟันและไหมขัด
ฟันเข้าไม่ถึง ฟลูออไรด์ช่วยลดฟันผุได้แต่เพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น การลดการบริโภคน้ำตาลจึงเป็นหัวใจหลักของการป้องกันฟันผุ งานวิจัย
เรื่องน้ำตาลกับฟันผุมีมาเกือบ 80 ปี หลักฐานเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าน้ำตาลเป็นสาเหตุของฟันผุ น้ำตาลทำให้สิ่งแวดล้อมในช่องปาก
เปลี่ยนแปลง นำไปสู่การเพิ่มสัดส่วนของเชื้อก่อโรคฟันผุในคราบจุลินทรีย์ น้ำตาลยังเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน
เบาหวาน ความดัน องค์การอนามัยเผยแพร่คู่มือเรื่องการบริโภคน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อฟันผุและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่าง
น้ำตาลกับฟันผุเป็นเชิงเส้นตรง ยิ่งบริโภคมายิ่งผุมาก โดยไม่มีระดับที่ปลอดภัย นอกจากนั้นการเพิ่มขึ้นของฟันผุตามช่วงอายุยังเป็นเชิงเส้น
ตรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหากปัจจัยเสี่ยงยังคงเดิม ดังนั้น เพื่อลดฟันผุตลอดช่วงชีวิต การบริโภคน้ำตาลจึงควรน้อยที่สุดตั้งแต่วัยเด็ก คำ
แนะนำล่าสุดคือไม่เกินวันละ 25 กรัม คำแนะนำให้ควบคุมปริมาณจำเป็นสำหรับสุขภาพโดยรวม แต่การควบคุมความถี่ในการบริโภคจะ
เหมาะสมในทางปฏิบัติมากกว่าและเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับฟันผุ การรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มเติมน้ำตาลควรรับประทานในมื้อ
อาหารจะปลอดภัยกว่า ลดการบริโภคนอกมื้ออาหารซึ่งไม่ควรเกิน 1 ครั้งต่อวัน นอกจากนั้นควรลดระดับความหวานหรือความเข้มข้นของ
น้ำตาลในอาหาร เน้นไปที่เครื่องดื่มเติมน้ำตาลเพราะเป็นแหล่งที่มาหลักของการบริโภคน้ำตาลล้นเกิน เครื่องดื่มควรเป็นชนิดไม่เติมน้ำตาล
หรือน้ำตาลต่ำไม่เกินร้อยละ 6 เน้นน้ำเปล่าและนมจืด