ข้อมูลบทความ
ปี 2019 ปีที่ 69 ฉบับที่ 2 หน้า 237-246
Title:
แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุสำหรับเด็กไทยอายุไม่เกิน 3 ปี
Keyword(s):
ฟันผุ, แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุ, เด็กทารก, เด็กวัยเตาะแตะ
Abstract:
ปัจจุบันยังมีความต้องการแบบประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุสำหรับเด็กเล็กที่มีอำนาจการทำนายในระดับยอมรับได้ที่สามารถ
นำมาใช้ในการจัดการโรคฟันผุได้อย่างเหมาะสมภายใต้ความจำกัดของทรัพยากรและงบประมาณ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง
แบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดฟันผุสำหรับเด็กเล็กและทดสอบความสามารถในการทำนายของแบบประเมินความเสี่ยงที่สร้างขึ้น
ทำการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลเด็กอายุตำกว่า 3 ปีและผู้ดูแลเด็กจำนวน 133 คู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในอำเภอ
หาดใหญ่ โดยการสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุ ทำการตรวจฟันเด็กในวันสัมภาษณ์และตรวจฟันครั้งที่
สองหลังจากครั้งแรกประมาณ 6 เดือน ทำการประเมินการเปลี่ยนแปลงของฟันผุทั้งสองครั้งเป็นสภาวะการมีฟันผุเพิ่ม (ใช่/ไม่ใช่) ในการ
สร้างแบบประเมินใช้แนวคิดการแบ่งส่วนกลุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสองส่วนในอัตรา 75 ต่อ 25 เพื่อใช้กลุ่มตัวอย่างส่วน
แรกในการสร้างแบบประเมินและใช้กลุ่มตัวอย่างส่วนที่ 2 ในการทดสอบแบบประเมิน การสร้างแบบประเมิน เริ่มคัดเลือกคำถามจากผล
การหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับการเกิดฟันผุเพิ่มในกลุ่มตัวอย่างแรกโดยใช้สถิติ Chi-square คัดเลือกปัจจัยที่มีระดับความสัมพันธ์
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและปัจจัยที่มีแนวโน้มความสัมพันธ ์ กำหนดเป็นปจั จัยหลักและปัจจัยรอง นำผลคะแนนรวมของปัจจัยเสี่ยงของ
เด็กแต่ละคนมาหาค่าจุดตัดที่ให้ค่าผลรวมค่าความไวและค่าความจำเพาะสูงสุด ต่อสภาวะฟันผุเพิ่มเพื่อใช้เป็นเกณฑ์การแบ่งระดับความเสี่ยง
การทดสอบแบบประเมินในกลุ่มตัวอย่างที่สองจำนวน 22 คน นำผลคะแนนความเสี่ยงมาแบ่งระดับความเสี่ยงแล้วนำมาสัมพันธ์กับ สภาวะ
การมีฟันผุเพิ่ม คำนวณหาค่าความไว ความจำเพาะและอำนาจการทำนาย ผลการศึกษา พบว่าแบบประเมินใหม่นี้มีค่าความไวและความ
จำเพาะเท่ากับ 66.7 และ 84.6 ตามลำดับ มีอำนาจการทำนายเท่ากับ 151.3 สรุปได้ว่า แบบประเมินที่สร้างขึ้นใหม่มีอำนาจการทำนาย
อยู่ในระดับยอมรับได้ ไม่ต้องใช้การตรวจเพิ่มเติมและสามารถใช้ได้ง่ายเหมาะสมกับบริบทที่มีความจำกัดของทรัพยากร