ข้อมูลบทความ
ปี 2019 ปีที่ 69 ฉบับที่ 4 หน้า 439-449
Title:
การประเมินผลอุปกรณ์ฝึกทักษะการมองเห็นแบบทางอ้อมจากกระจกส่องปาก สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Keyword(s):
กระจกส่องปาก, การมองเห็นแบบทางอ้อม, ความตรง, นักศึกษาทันตแพทย์
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความตรงเชิงโครงสร้าง และความตรงเชิงปรากฏของอุปกรณ์ฝึกทักษะการมองเห็นแบบ
ทางอ้อมในงานทันตกรรมที่พัฒนาขึ้นใหม่ การศึกษานี้เก็บรวบรวมข้อมูลที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จากอาสา
สมัครจำนวน 42 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 14 คน ได้แก่ กลุ่มผู้เริ่มฝึกหัด (นักศึกษาชั้นปีที่ 2) กลุ่มผู้เริ่มมีประสบการณ์ (นักศึกษา
ชั้นปีที่ 6) และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (ทันตแพทย์) อาสาสมัครทำแบบทดสอบผ่านการมองเห็นแบบทางอ้อมโดยใช้กระจกส่องปาก ที่ติดตั้งบน
อุปกรณ์ จำนวน 4 ชุด การศึกษานี้ประเมินความตรงเชิงโครงสร้างโดยการเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ และจำนวนข้อผิดพลาดในการทำแบบ
ทดสอบระหว่างอาสาสมัคร 3 กลุ่ม และประเมินความตรงเชิงปรากฏโดยให้กลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 และทันตแพทย์ ตอบ
แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสมือนจริงและความสามารถในการช่วยฝึกทักษะการมองเห็นแบบทางอ้อมของอุปกรณ์ จำนวน
4 ข้อ โดยแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ตัวเลือก ตั้งแต่ 5 เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถึง 1 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มทันตแพทย์มีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อผิดพลาดในการทำแบบทดสอบส่วนใหญ่น้อยกว่ากลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการทำแบบทดสอบระหว่าง 3 กลุ่ม ทั้งนี้อาสา
สมัครส่วนใหญ่เห็นว่าอุปกรณ์นี้มีประโยชน์ช่วยในการใช้ฝึกทักษะการมองเห็นแบบทางอ้อมสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ และเห็นว่า
อุปกรณ์นี้มีลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกับการทำงานทันตกรรมผ่านกระจกส่องปากในคลินิก โดยสรุปแล้วอุปกรณ์ฝึกทักษะนี้มีความตรง
เชิงปรากฏ และสามารถจำแนกความแตกต่างของระดับความเชี่ยวชาญทักษะในการมองเห็นแบบทางอ้อมทางทันตกรรม ซึ่งเป็นหลักฐาน
ที่แสดงถึงความตรงเชิงโครงสร้าง และเป็นอุปกรณ์ที่น่าจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยฝึกทักษะการมองเห็นแบบทางอ้อมให้แก่
นักศึกษาทันตแพทย์ในการเรียนระดับชั้นพรีคลินิกต่อไป